call center : 02-756-0335
hotline : 086-3167436

2-4 ล้านปีก่อนคริสตกาล มีมนุษย์ถ้ำอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านโจวโขว่เตี้ยนทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปักกิ่งห่างออกไป 50 กิโลเมตร เป็นหลักฐานเชื่อว่าเอเชียกับแอฟริกาเป็นถิ่นกำหนดของมนุษย์แรกเริ่ม เรียกว่า “โฮโมอิเรกตัส” จึงเรียกซากโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1959 ว่า “มนุษย์ปักกิ่ง”
2 แสนปีก่อนคริสตกาล มีชุมชนของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังต้องห้ามเพียง 1 กิโลเมตร มีการนำเครื่องมือหินและซากโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบมาจัดแสดงที่หอศิลป์ชั้นใต้ดินของห้างโอเรียลตัลพลาซ่า
ค.ศ. 916-1125 ราชวงศ์เหลียวตั้งเมืองหลวงขึ้นที่ปักกิ่ง
ค.ศ. 1279 เจงกีสข่านตั้งราชวงศ์หยวน ในช่วงของกุบไลข่าน (หลานของเจงกีสข่าน) มาร์โคโปโลได้มาเยือนเมืองข่านบาลิก (เมืองของท่านข่าน) ริมทะเลสาบเป๋ยไห่ของกรุงปักกิ่งปัจจุบัน
ค.ศ. 1402-1420 จักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราขวงศ์หมิง ทรงสร้างเป่ยจิง(นครหลวงแดนเหนือ) พระราชวังต้องห้ามและหอเทียนถาน รวมทั้งซ่อมแซมกำแพงเมืองจีนด้วย
ค.ศ. 1644 พวกแมนจูก่อตั้งราชวงศ์ซิง สถาปนาปักกิ่งเป็นเมืองหลวงเช่นเดิม
ค.ศ. 1838-1842 สงครามฝิ่นครั้งแรก ชาติตะวันตกบีบบังคับให้ทำการค้ากับต่างชาติ
ค.ศ. 1860 สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 กองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสบุกเข้ายึดปักกิ่ง บังคับให้จีนลงนามในสนธิสัญญาให้ต่างชาติมาตั้งสถานทูต ค้าขายและเผยแผ่ศาสนาได้
ค.ศ. 1900 เกิดกบฏนักมวย การเผาสถานทูต ขับไล่ชาวตะวันตก 8 ชาติ เผาพระราชวังฤดูร้อนจนพินาศสิ้น
ค.ศ. 1903 พระนางซูสีไทเฮา (ฉื่อซีไทโฮ่ว) สร้างพระราชวังฤดูร้อนขึ้นใหม่
ค.ศ. 1911 ดร.ซุนยัตเซ็น นายแพทย์หนุ่มจากมณฑลกว้างตุ้ง นำกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของราชวงศ์ชิง เปลี่ยนมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
ค.ศ. 1921 เหมาเจ๋อตุงร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนที่เซี่ยงไฮ้
ค.ศ. 1928 เจียงไคเซค ผู้นำกองทัพแห่งชาติคุมอำนาจได้ทั้งหมด
ค.ศ. 1931-1935 กลุ่มคอมมิวนิสต์ถอยร่นลงไปทางตอนใต้เป็นการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ น 11 มณฑล ระยะทางถึง 12,000 กิโลเมตร มีผู้ร่วมเดินทาง 130,000 คน
ค.ศ. 1937 กองทัพญี่ปุ่นบุกโจมตีจีนที่สะพานมาร์โคโปโลในกรุงปักกิ่ง
ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม กองทัพคอมมิวมิสต์ยึดกรุงปักกิ่ง ขับไล่กองทัพก๊กมินตั๋งพร้อมประชาชนผู้ลี้ภัยราว 2 ล้านคนไปที่เกาะไต้หวัน
ค.ศ. 1949 เหมาเจ๋อตุงประกาศให้จีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ประตูเทียนอันเหมินในวันที่ 1 ตุลาคม
ค.ศ. 1959 คนนับแสนๆคนถูกกำจัดโดยขบวนการเรดการ์ด หรือขบวนการพิทักษ์แดง
ค.ศ. 1973 นายกรัฐโจวเอินไหลแต่งตั้งเติ้งเสี่ยวผิงให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี เน้นยโยบายสภาพความเป็นจริง
ค.ศ. 1976 เกิดจากการประท้วงของประชาชนต่อแก็งสี่คนของนางเจียงซิง (Jiang Qing) ซึ่งต้องการจะล้มล้างนโยบายสภาพความเป็นจริง
ค.ศ. 1982 มีรัฐธรรมนูญให้พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจปกครองประเทศสูงสุด นายหูเหยาปังเป็นเลขาธิการของพรรค และนายจ้าวจือหยางเป็นนายกรัฐมนตรี
ค.ศ. 1989 มีการปราบปรามู้เรียกร้องประชาธิปไตยใน “กรณีเทียนอันเหมิน” จ้าวจือหยางต้องลาออก จางเจ๋อหมิง เข้าดำรงตำแหน่งแทน นโยบายปฏิรูป 4 ทันสมัยของเติ้วเสี่ยวผิงยังได้รับการสานต่อ
ค.ศ. 1997 เติ้งเสี่ยงผิงถึงแก่อสัญกรรม ฮ่องกงกลับคืนจากอังกฤษสู่จีน
ค.ศ. 1999 โปรตุเกสส่งคืนมาเก๊าให้กับจีน
ค.ศ. 2001 จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก W.T.O และปักกิ่งได้รับเลือกให้จัดกีฬาโอลิมปิกในปีค.ศ. 2008
ค.ศ. 2002 นายหูจิ่นเทา ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคอมมิวนิวส์
ค.ศ. 2003 นายหูจิ่นเทาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของจีน เกิดการระบาดของโรคซาร์ จีนประสบความสำเร็จในการปล่อยยานอวกาศลำแรกชื่อว่า เจินโจว5 มีนักบินอวกาศจีนคนแรก ชื่อว่า หยางหลี่เว่ย ซึ่งต่อมาได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขามองไม่เห็นกำแพงเมืองจีนจากนอกโลกเลย (ลบล้างความเชื่อเดิมลงโดยสิ้นเชิง)
เหตุการณ์สำคัญที่ไทยและจีนเปิดประเทศให้คนไทย เดินทางไปจีนได้เป็นครั้งแรก หลังจากจีนปิดประเทศเนื่องจากระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลานาน ในสมัยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (14 มีนาคม ค.ศ.1975 ถึง 12 มกราคม ค.ศ. 1976)ได้มีนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ 2 ข้อคือ
1. จะส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติ โดยยึดหลักที่เป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อไทย ไม่คำนึงถึงความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมืองและการปกครอง
2. เพื่อให้เกิดดุลยภาพในความสัมพันธ์กับประเทศอภิมหาอำนาจ รัฐบาลนี้จะดำเนินการเพื่อให้มีการรับรอง และมีความสัมพันธ์เป็นปกติกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1975 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและคณะ ได้เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งโดยมีนายเติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรี มาต้อนรับที่สนามบิน
Cr. ข้อมูลจากคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา โดยคุณไพรัตน์ สูงกิจบูลย์